Failure Modes and Effects Analysis (FMEA) เป็นวิธีการระบุถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ อีกทั้งยังสามารถประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากปัญหาไปจนถึงการจัดลำดับผลกระทบของปัญหาและหาทางป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอีก
ผลลัพท์จากการทำ FMEA เราจะได้ FMEA Table ซึ่งจะแสดงถึงระดับความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดจากปัญหารวมทั้งแนวทางป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นอีก และสำหรับแนวทางป้องกันนี้สามารถเป็นไปได้ทั้งวิธีที่มีอยู่แล้วหรือวิธีที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่
FMEA เป็นเครื่องมือทางการวิเคราะห์ที่ดีตัวหนึ่ง
มันสามารถทำให้เราคาดการณ์ถึงปัญหาที่จะเกิดล่วงหน้าได้ ผลจากการทำ FMEA กับกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์จะช่วยให้เราเข้าไปจัดการกับสาเหตุของปัญหาโดยตรง
ซึ่งจะทำให้เราป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านั้นไปเกิดที่ลูกค้า การทำ FMEA จะส่งผลถึง
Yield ที่ดีขึ้น, คุณภาพที่ดีขึ้น,
กระบวนการมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น
และแน่นอนที่สุดทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นในสินค้าของเรายิ่งขึ้น
ประเภทของ FMEA ที่ใช้กันโดยทั่วไปในปัจจุบันมีดังนี้
1. Syetem
FMEA 2. Design or Product FMEA 3. Process
FMEA 4. Service FMEA 5.Software FMEA
ขั้นตอนในการทำ FMEA สามารถทำได้ตามลำดับดังนี้
1.จัดตั้งทีมงาน
2.ทำความเข้าใจกับผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่จะทำ FMEA
3.
เขียนรายละเอียดของขั้นตอนของผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการนั้นๆในรูปของแผนภูมิการไหล (Process
flow)
4. ใส่รายละเอียดใน FMEA Table
5.ประเมินคะแนนใน
FMEA Table ในแต่ละช่องพร้อมทั้งเรียงลำดับความสำคัญ
6.สรุปวิธีการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งลงมือปฎิบัติตามแนวทางนั้น
โดยมุ่งไปที่การป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดซ้ำอีก
7.
ติดตามผลหลังจากลงมือแก้ไขปัญหาไปแล้ว
8.Update FMEA ตามระยะเวลาที่เหมาะสม
จากการประเมินคะแนนใน FMEA Table เราจะได้ตัวเลขที่สำคัญมากตัวหนึ่งนั่นคือ
RPN (Risk Priority Number) เป็นตัวเลขที่แสดงถึงระดับความเสี่ยงของแต่ละปัญหาทำให้เราสามารถเรียงลำดับได้ว่าควรจะแก้ปัญหาไหนก่อน-หลัง
อย่างไร โดยที่ RPN = SEV X PF X DET โดย SEV,PF และ
DET เป็นตัวเลขที่ได้จากการประเมินคะแนนใน FMEA
Table เบื้องต้นอย่างที่รู้กันว่า FMEA จะถูกสรุปมาในรูปของตาราง ดังนั้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ วิธีการ หรือกระทั่งเทคโนโลยีก็อาจเปลี่ยนแปลงไปซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่ควรตระหนักว่า FMEA จะต้องมีการ Update หรือปรับปรุงตลอด โดยมีเกณฑ์หลักๆในการ Update ดังนี้
1. เมื่อมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการใหม่
2. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขกับผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการที่กระทบการใช้งานหลัก
3.
เมื่อผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการมีการเปลี่ยนแปลงที่แย่ลง
4.
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ใหม่ที่ส่งผลกระทบกับการใช้งานเดิมของกระบวนการหรือผลิตภัณฑ์
5. เมื่อโดนลูกค้าร้องขอ6. เมื่อพบว่าการวิเคราะห์ FMEA มีความผิดพลาดตั้งแต่ต้น
องค์การสำรวจอวกาศของสหรัฐอเมริกา(NASA) ทำ FMEA ก่อนส่งยานอวกาศออกไปสำรวจนอกโลกเป็นพันๆหน้ากระดาษ แล้วคุณจะไม่ลองใช้มันดูหรือครับ
อาจารย์ไม่ลองเขียนเกี่ยวกับ Lean for Supply Chain บ้างอ่ะคะ....จะคอยติดตามค่ะ
ตอบลบ