วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Takt Time, Cycle Time และ Lead Time

วันนี้มีเพื่อนๆฝากถามเรื่อง Takt time, Cycle Time และ Lead Time มา ซึ่งผมก็จะขออนุญาติอธิบายให้คร่าวๆดังนี้นะครับ
Take time : คำว่า Takt เป็นภาษาเยอรมันแปลว่า จังหวะ Takt time คือ เวลาในการผลิตงาน 1 ชิ้นที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละวันได้
มีสูตรคำณวนง่ายๆดังนี้คือ Takt time = เวลาที่ใช้ในการผลิตทั้งวัน (นาที)/ ความต้องการสินค้าในแต่ละวัน (หน่วยสินค้า) โดยเวลาที่ใช้ในการผลิตทั้งวันจะคิดเฉพาะช่วงเวลาเฉพาะที่ทำการผลิตชิ้นงานเท่านั้น ไม่รวม เวลาพัก, การประชุม, เวลาที่ใช้ในการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
ตัวอย่าง โรงงานผลิตรถยนต์แห่งหนึงมีการทำงานเป็น 2 กะ กะละ 12 ชม. หรือเท่ากับ 1440 นาที ต่อวัน ในแต่ละกะจะมีช่วงเวลาพัก 60 นาที, ประชุม 30 นาที, บำรุงเครื่องจักร 30 นาที
ดังนั้นเราจะได้เวลาที่ใช้ในการผลิตทั้งวันเท่ากับ 1440 – (60X2) -( 30X2) – (30X2) = 1200 นาที
และช่วงนี้มีคำสั่งซื้อจากลูกค้าจำนวน 100 คันต่อวัน ดังนั้น Takt time ก็จะเท่ากับ 1200 / 100 = 12 นาทีต่อคัน
แต่ในการนำสูตรคำณวนนี้ไปใช้งานจริงควรจะมีความเผื่อจากเหตุการณ์ที่เราไม่คาดคิดเช่น เครื่องจักรเกิดหยุดกระทันหัน พนักงานทำงานผิดพลาด หรือเหตุฉุกเฉินต่างๆที่ทำให้ตัวเลขเวลาที่ใช้ในการผลิตทั้งวันยิ่งลดน้อยลงไปอีก ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาตรงนี้เราจะใส่ค่าเผื่อไว้ประมาณ 10% ของค่า Takt time ที่คำณวนมาได้ขั้นต้น นั่นคือเราจะได้ว่า
Takt time ในการทำงานจริง = Takt time + (10% X Takt time) นั่นคือจากตัวอย่างที่กล่าวมาเราจะได้ Takt time ในการทำงานจริง = 12 + (10%X12) = 13.2 นาที
สรุป การผลิตรถยนต์ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ 100 คันต่อวันได้เราต้องผลิตรถยนต์ออกมาให้ได้ 1 คันในทุกๆ 13.2 นาทีนั่นเอง
Cycle time คือ เวลาที่แต่ละกระบวนการใน line การผลิตซึ่งจะมีความแตกต่างกันในแต่ละสถานีงาน
ความสัมพันธ์ของ Cycle time และ Takt time คือ Takt time จะเป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับความต้องการของลูกค้า ส่วน Cycle time จะเป็นเวลาจริงที่แต่ละกระบวนการสามารถทำได้
จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ สมมุติว่า โรงงานผลิตรถยนต์มีกระบวนการผลิตทั้งสิ้น 3 กระบวนการ ซึ่งแต่ละกระบวนการมี Cycle time ดังนี้
กระบวนการที่ 1,2 และ 3 มี Cycle time = 15, 10 และ 11 นาที ตามลำดับ จากการคำณวนเราได้ Takt time = 13.2 นาที ดังนั้นกระบวนการที่ 2 และ 3 จึงไม่มีปัญหาเพราะ Cycle time ต่ำกว่าค่า Takt time
แต่กระบวนการที่ 1 มี Cycle time สูงกว่า Takt time ที่ 15-13.2 = 1.8 นาที ทำให้เกิดภาวะคอขวด (Bottle neck) และจะส่งผลให้การผลิตไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ 100 คัน / วันได้ ดังนั้นต้องทำการแก้ไขปรับปรุง Cycle time ของกระบวนการที่ 1 ให้ได้ Cycle time ที่ต่ำกว่า 13.2 นาทีให้ได้
Lead time คือระยะเวลาตั้งแต่รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าจนลูกค้าได้รับสินค้า เช่น การสั่งซื้อรถยนต์จะใช้ lead time ประมาณ 1- 6 เดือน ซึ่งตัวเลขนี้ก่อนที่จะสามารถแจ้งกับลูกค้าว่าการผลิตรถยนต์ให้ลูกค้า 1 คันหลังจากรับคำสั่งซื้อนั้นจะใช้ระยะเวลาหรือ lead time เท่าไหร่
เราต้องทราบว่า Cycle time ของแต่ละกระบวนการในการผลิตรถยนต์ของโรงงานนั้นมีค่าสูงสุดเท่าไหร่บนพื้นฐานของคุณภาพที่ดีที่สุด นั่นคือประสิทธิภาพในการผลิตไม่ได้ลดน้อยลงเนื่องจากการเพิ่มหรือลด Cycle time
และถ้าเรากลับไปดูค่า Takt time ก็จะพบว่า lead time จะเป็นตัวเข้าไปกำหนดค่าความต้องการของลูกค้่าต่อวัน นั่นคือเมื่อ Lead time มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจะส่งผลโดยตรงกับค่า Takt time ลดลงและถ้า Lead time ลดลงก็จะส่งผลให้ Takt time เพิ่มขึ้น เกิดเป็นจังหวะในการผลิตที่มีการไหลของผลิตภัณฑ์สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า จึงสรุปได้ว่า Lead time จะเป็นตัวกำหนด Takt time และ Takt time ก็จะไปกำหนด Cycle time อีกที ดังนั้นตัวแปรทั้งสามจึงมีความสัมพันธ์กันตลอด

 

3 ความคิดเห็น:

  1. ช่วยบอกหน่อยค่ะ ถ้าความต้องการของลูกค้าในแต่ละวันไม่คงที่ แต่เวลาในการทำงานคงที่ จะหาtakt time ยังไงค่ะ ใครทราบบอกด้วยนะค่ะ ขอบคุนค่ะ

    ตอบลบ
  2. ผมมีข้อมูลอาจจะช่วยได้ครับ ส่งรายละเอียดมาได้ครับEmailผม
    chirasakdecha2559@gmail.com

    ตอบลบ
  3. ผมอยากได้ขอมูลเกี่ยวกับข้อมูลการทำ LOB คับใครมีข้อมูลการทำผมขอหน่อยคับ

    ตอบลบ